COTTO LiFE SiGNATURE TALK

ความแตกต่างของแต่ละ Generation ทำให้เกิดช่องว่างในการทำงานกับหลาย ๆ องค์กร “Gen Baby boomer ชอบในการทำงานแบบเดิม ๆ อยู่ตามกรอบอยู่ตามระเบียบอยู่เสมอ แต่พอมา Gen X ผมขอคิดนอกกรอบ เขาก็เลยจะต่อสู้กันในระหว่าง Generation อันนี้คือปัญหา 

COTTO LiFE SiGNATURE TALK "ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง"

COTTO LiFE SiGNATURE TALK

วันนี้ COTTO LiFE จะพาทุกคนไปพบกับ คุณบี อภิชาติ ขันธวิธี กรรมการผู้จัดการ QGEN CONSULTANT ที่ได้มาร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ ในช่วง COTTO LiFE SiGNATURE TALK โดยครั้งนี้จะเป็นหัวข้อ "ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง" ซึ่งถ่ายทอดสดที่ COTTO LiFE สาขาเชียงใหม่ งานนี้คุณบีงัดเอาประสบการณ์ในการบริหารองค์กรและบุคลากรมาแชร์ให้ทุกคนได้รับชมกันแบบจุใจ ใครที่กำลังมองหาแรงบันดาลใจในช่วงนี้ COTTO LiFE นำคอนเท้นต์ดี ๆ มาบอกต่อแล้ว

คุณบี อภิชาติ ขันธวิธี กรรมการผู้จัดการ QGEN CONSULTANT

รูปแบบองค์กรแบบไหนที่คนอยากร่วมงานด้วย

คุณบี อภิชาติ เปิดเรื่องด้วยการตั้งคำถามว่า เราเก่งไปเพื่ออะไร? เราควรเก่งเรื่องอะไร เราควรจะเก่งไปในวิธีการแบบไหน “สำหรับผมเองถ้าผมต้องเป็นคนทำงานแล้วจะต้องเก่งด้วยนะ ผมก็ต้องกลับมาดูก่อนว่าองค์กรต้องการอะไร หรือเรากำลังจะทำงานให้กับอะไรบางอย่าง เราถึงจะเก่งไปเพื่อสิ่งนั้น เพราะถ้าสุดท้ายถ้าเราดันไปเก่งในสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดขึ้นมา เหนื่อยฟรี เพราะเราจะไม่ได้ถูก response จากอะไรเลย

ถ้าเราจะเก่งอะไรบางอย่าง ต้องหาให้เจอว่าสิ่งที่จะ response ความเก่งของเราคือใคร แล้วเขากำลังต้องการอะไร หลักการมันคล้าย ๆ กับเราขายสินค้า เราต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วเราเองกำลังจะเสิร์ฟอะไรให้กับลูกค้า เพราะฉะนั้นเราต้องวนกลับมาครับ ขอโฟกัสไปที่กลุ่มของคนทำงานก่อน คนทำงานเองต้องรู้ครับว่าวันนี้องค์กรเขากำลังต้องการอะไร ถ้าเราเองอยู่ในฐานะผู้ประกอบการ เราเองก็ต้องรู้ครับว่าลูกค้าต้องการอะไร ดูความเชื่อมโยงนะครับ ลูกค้าต้องการอะไร เรากำลังจะผลิตอะไรเพื่อที่จะไปเสิร์ฟลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการก็ตาม แล้วคนในองค์กรของเราต้องเก่งอะไรถึงจะผลิตสินค้าและบริการที่จะไปทำให้ลูกค้าของเราประทับใจได้ มันถึงจะเป็นตัวตั้งต้นตัวนี้

วันนี้เราอยู่ในโลกโลกหนึ่งที่เราเรียกกันว่า VUCA world ย่อมาจาก VUCA Volatility (V) แปลว่าความผันผวน ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้นะครับคือความผันผวน Uncertainty (U) ความไม่แน่นอน Complexity (C) คือความซับซ้อน และสุดท้าย Ambiguity (A) คือความคลุมเครือ เราจะอยู่กับสถานการณ์ของความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน แล้วก็ความคลุมเครือ นี่คือสถานการณ์ที่ทุกธุรกิจเจอกันหมดเลย โควิด-19 ก็เป็นอีกตัวหนึ่งครับที่กระตุ้นให้ตัวพวกนี้มันเกิดขึ้นมา เดิมเราเคยทำงานอยู่ที่ออฟฟิศได้ วันนี้เราทำงานที่ออฟฟิศไม่ได้ เราต้องไปทำงานแบบ WFH พอกลับไป WFH เราจำเป็นจะต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน มันคือความไม่แน่นอนที่มันเกิดขึ้น

คุณบี อภิชาติ ขันธวิธี กรรมการผู้จัดการ QGEN CONSULTANT Generation gap

มันเลยเป็นที่มาว่า แล้วคนแบบไหนที่จะเป็นคนเก่งได้ในสถานการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเยอะ ๆ แบบนี้ อย่างแรกเลยคือคนที่มีเป้าหมายชัดเจน เขาต้องรู้ว่าเขาทำอะไร เขาจะต้องเป็นคนรู้ว่าตัวเขาเองมีจุดแข็งในเรื่องอะไร ทุกวันนี้องค์กรอยู่บนสปีด ใช้ระยะเวลาที่เร็วขึ้นในการทำงาน เพราะฉะนั้นถ้าใครก็ตามรู้จักตัวเองเป็นอย่างดีว่าจุดแข็งเขาคืออะไรวันนี้สิ่งที่องค์กรต้องการคือ เข้ามาปุ๊บพร้อมทำงานได้เลย มันก็เลยเป็นที่มาว่าวันนี้ องค์กรต้องการคนที่เข้ามาแล้วรู้จักตัวเองเป็นอย่างดีว่าเขาเก่งในเรื่องอะไร พอเก่งในเรื่องแบบนี้ปุ๊บ องค์กรมีหน้าที่แค่มอบหมายในสิ่งที่เขาเก่งแล้วให้เขาวิ่งต่อได้เลย และอีกสิ่งที่องค์กรต้องการแน่ ๆ คือ เราอยู่บนความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาครับ องค์กรต้องการคนที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนไปกับองค์กรอยู่เสมอ ต้องการคนที่มี multi-skill ผมเป็น HR ผมจะทำแค่ HR ไม่ได้ วันหนึ่ง HR ต้องทำ Marketing ได้ วันหนึ่ง HR ต้องลองไปทำในเรื่องของการขายของได้ ในระยะเวลาที่จำกัด องค์กรต้องการคุณลักษณะแบบนี้ไปพร้อม ๆ กับคนที่พร้อมจะเรียนรู้ด้วยตัวเองไปได้เรื่อย ๆ


สิ่งที่องค์กรต้องการจากคนทำงาน องค์กรส่วนใหญ่นะ ผมใช้คำว่าส่วนใหญ่จากประสบการณ์ที่เจอมา พื้นฐานที่องค์กรต้องการได้จากคนทำงานคือเขาต้องการได้ performance ของคน ต้องการได้ผลงานของคน สุดท้ายเขาอาจจะไม่ได้ต้องการความผูกพันที่มีอยู่กับองค์กร องค์กรทุกองค์กรนะครับไม่ใช่มูลนิธิ เราต้องการที่จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นใครที่เข้ามาทำงานกับเรา เราต้องการให้เขาแสดง performance ออกมาได้เยอะที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด ก็คือผมมีเงินเดือนจะจ่ายให้คนแค่นี้ แต่ผมอยากได้ performance ที่ดีที่สุดบนเงินเดือนของคุณนะ คุณแสดงให้เราเห็นแค่ไหน”

COTTO LiFE SiGNATURE TALK ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

วิธีทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่


ความแตกต่างของแต่ละ Generation ทำให้เกิดช่องว่างในการทำงานกับหลาย ๆ องค์กร “Gen Baby boomer ชอบในการทำงานแบบเดิม ๆ อยู่ตามกรอบอยู่ตามระเบียบอยู่เสมอ แต่พอมา Gen X ผมขอคิดนอกกรอบ เขาก็เลยจะต่อสู้กันในระหว่าง Generation อันนี้คือปัญหา Generation gap ตัวที่หนึ่ง พอมา Gen Y ตอนนี้ X กับ Y จำนวนเท่า ๆ กัน ในองค์กร Gen Y ไม่ Think out of the box แล้ว Gen Y เป็นรุ่นที่บอกว่าเขาเองไม่มีกรอบอะไรเลย แต่ต้องการการทำงานที่ขอให้สนุกในการทำงาน ทุกอย่างต้องว้าวสำหรับเขา นี่คือการฟาดฟันกันระหว่าง Gen X กับ Gen Y ที่จะคิดไม่เหมือนกัน Gen X ค่อนข้างจะมีความจู้จี้จุกจิกในการทำงาน แล้วปัจจุบัน Gen X นี่เขาเสมือนว่าเป็นกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มคนที่ใหญ่ที่สุดในองค์กร แล้วก็เติบโตอยู่นะดับสูงและค่อนข้างจะมีอิทธิพลค่อนข้างเยอะ ในขณะที่ Y กำลังพยายามที่จะเติบโตขึ้นมา

COTTO LiFE SiGNATURE TALK ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

ทีนี้ Generation ใหม่ที่กำลังเข้ามา คือ Gen Z สิ่งที่เป็นจุดไฮไลต์สำหรับ Gen Z ณ ตอนนี้คือ เขาจะทำงานมากกว่า 1 งาน ไม่ใช่ multi-skill นะ คำว่าทำงานมากกว่า 1 งานโดยธรรมชาติของเขาคือ ถ้าเราจ้างเขาทำงาน เขาจะโฟกัสเลยว่า พี่จ้างผม 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น หลังจากนี้ห้ามยุ่ง แล้วหลังจากนี้ตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึง 6 โมงเย็น ผมจะไปเป็นนักร้องในผับ ในบาร์ อะไรมันก็เรื่องของผม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาคิดไว้เสมอครับ คือเขาไม่จำเป็นที่จะต้องมีชีวิตเดียว ด้วยยุคด้วยสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแบบนี้นะ เขาอาจจะมาทำงานกับเราในบริษัทของเรานะครับ เพื่อให้เขาได้สิ่งที่มันเป็นพื้นฐานน่ะครับ เป็น base สำหรับการใช้ชีวิต แต่ชีวิตอีกด้านหนึ่งของเขา เขาจะไปต่อความชอบ ไปต่อแพสชันอะไรบางอย่างของเขา แล้วเขาไม่ชอบให้เราเบรกเรื่องของเวลาของเขา มันจะต่างกันนะครับ ในยุคของเราทำงานเนี่ยนะ เราจะบอกว่า Gen Y Gen X ทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทำ OT แต่พอเราเจอ Gen Z ครับ ก็จะมีข้อถามทันทีว่า เฮ้ยในสัญญาพี่บอกผมไม่ใช่เหรอว่า 10 โมงถึง 6 โมง มันเป็นสิ่งที่เกิดข้อพิพากษ์ระหว่าง Generation อันนี้ก็คือ Generation gap ที่เกิดขึ้น

Gen Z เขายังมีจุดแข็งบางอย่างที่ Gen อื่นอาจจะมีไม่เท่าเขา เช่น เทคโนโลยี เขาเก่งกว่าคนอื่นครับ เขาเติบโตมากับเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะเติบโต ทุกองค์กรต้องพยายามให้องค์กรเรามีหลาย ๆ generation ผมเคยเจอปัญหานะ ถ้าอายุเรากับลูกน้องของเราเกินกว่า 12 ปี ปัญหามันจะเริ่มเกิด แปลว่าเราต้องใกล้ชิดกับเขาแล้วก็จูนภาษากัน วิธีการจูนภาษาที่ดีนะครับ คนโตต้องทำตัวเองให้เด็กลง มันง่ายกว่าการทำให้เด็กโตขึ้นมาครับ อันนี้เราผ่านประสบการณ์มาก่อน เราต้องเด็กลงนะ ไม่ใช่พยายามไปบังคับให้เด็กโตขึ้นมาให้เท่าเรานะครับ มันยาก ดังนั้นพอเจอปัญหาแบบนี้ เราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ต้องดรอปตัวเองลงไปครับ หาอายุที่เหมาะสมในการที่จะสื่อสารกับเขาให้ได้


อีกเรื่องหนึ่งครับ ผมจะใช้คำว่า charisma ใครเคยได้ยินคำว่า charisma บ้างครับ charisma มักจะมีในพวกของดารา นักร้อง นักแสดง ทั้งหลาย มันเป็นเสน่ห์ที่มันจับต้องได้ยากหน่อย มันคือคนที่มีออร่า ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเชื่อในสิ่งที่คนนี้พูด เราจะเป็น leader ไม่ได้ถ้าเราไม่มีคนตามนะครับ เป็นหัวหน้ากับเป็น leader เป็นบอสกับเป็น leader ไม่เหมือนกันนะครับ ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เราเดินไปแล้วไม่มีคนตามเราเลย เราเป็นได้แค่บอส บอสนี่มีอำนาจ พูดให้เป็นคำภาษาไทยให้เราเข้าใจง่าย ๆ นะครับ leader ต้องมีทั้งอำนาจแล้วก็มีบารมี เราสร้างบารมีได้จากอะไร ทีนี้ตัว charisma ตัวบารมีนี่นะครับ มันจะมีตัวอย่างของการที่เราเองสามารถที่จะเลือกได้ว่าตัวเราเองมี leadership สไตล์แบบไหน ผมให้คีย์เวิร์ดคำนี้ไว้นะครับ คำว่า Leadership style คนนี้มีวิธีการในการนำลูกน้องแบบนี้ ๆ แต่ละคนอาจจะมีพื้นฐานการเป็น leader ที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นภาวะผู้นำในยุคปัจจุบันที่การเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ผู้นำจะต้องทำ ณ วันนี้คือ เราจะต้องเป็นผู้นำที่จะต้องเปลี่ยนตัวเราเองไปตาม situation ที่มันเกิดขึ้น


จัดการกับปัญหา Burnout อย่างไร

จัดการกับปัญหา Burnout อย่างไร

ปัญหาเบิร์นเอ้าท์ คือ การหมดไฟในการทำงาน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน คุณบีได้ให้คำนิยามสั้น ๆ เอาไว้ว่า “มันมี 3 หมดนะครับที่เราจะต้องให้ความใส่ใจและเราควรจะโฟกัสที่อะไร หนึ่งคือหมดไฟ สองคือหมดใจ สามคือหมดเงิน จะเลือกอันไหน ระหว่างหมดไฟ หมดใจ สุดท้ายเราไม่มีเงินใช้ เราอาจจะต้องยอมอยู่ภาวะหมดใจหรือหมดไฟก็ได้ สิ่งที่มันเป็นปัญหา ณ ตอนนี้คือเรื่องของ burnout ในเรื่องของหมดไฟแยกเป็น 2 ประเด็น ในประเด็นของการทำงาน ผมค่อนข้างเชื่อว่าทุกคนที่ทำงานมาระยะหนึ่งจะเคยเจอสถานการณ์ของการหมดไฟ เป็นเรื่องปกติของชีวิต ณ วันนี้ ภาวะหมดไฟแล้วก็หมดใจในเชิงจิตแพทย์จิตวิทยามันจะหนักหนากว่าเยอะ ต้องแยก 2 ส่วนนะครับ


ถ้าหมดไฟหมดใจจริง ๆ ถึงขั้นที่เรารู้สึกว่าเราป่วยแล้วเนี่ย ผมบอกเลยว่าไปพบแพทย์เท่านั้น อย่าแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เพราะเราอาจจะไม่รู้เลยว่าเราจะแกะเจอยังไงบ้าง ถ้ายังเป็นแค่ stage แรก ๆ อยู่ของการหมดไฟ รู้สึกว่า ช่วงนี้รู้สึกไม่แอคทีฟเลยในการทำงาน รู้สึกงานของเราไม่สนุกเลย ไอ้ความรู้สึกที่เราบอกว่ารู้สึกแบบนี้นะครับ มันเกิดจากการที่ผมกลับไปย้อนดูนะว่า ต้นเหตุของความรู้สึกที่เราหมดไฟนี้มันคืออะไร มันเกิดจากอะไรได้บ้าง เวลาที่บอกว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง ผมค่อย ๆ ไล่แกะแบบนี้นะ มันเกิดจากตัวเนื้องานของเราหรือเปล่าที่มันไม่สนุกเหมือนเดิม มันไม่ท้าทาย งานมันน่าเบื่อ งานมันมีแต่รูทีน งานมันทำซ้ำไปซ้ำมา อันนี้หรือเปล่าที่เป็นจุดตั้งต้นของการที่ทำให้รู้สึกว่าหมดไฟในการทำงาน หรืองานยังดีเหมือนเดิมนะ แต่ผลตอบแทนของเราไม่เป็นที่พอใจ มันไม่เท่า ใส่ความพยายามไปตั้งเยอะ กำไรกลับมาแค่นี้เอง ผลตอบแทนกลับมาแค่นี้เลย เป็นที่ข้อนี้หรือเปล่า


และสุดท้ายหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวคนที่อยู่แวดล้อมเรา จะเป็นเพื่อนร่วมงาน เป็นหัวหน้า หรือเป็นลูกน้องก็ตาม ที่ทำให้รู้สึกว่ามันทำให้เราหมดไฟ งานมันไม่ได้ยากขนาดนั้นเลย แต่คนน่ะมันทำให้มันยากขึ้นมา หรือเป็นเพราะลูกค้า สมมติว่า area ที่เราจะวนเจอมันอยู่ที่ 4 ข้อนี้ พยายามแกะให้เจอนะครับว่าเจออะไร สุดท้ายถ้าแกะไม่เจอ 4 ข้อนี้ มันเหลือข้อเดียวแล้วครับ ตัวเราเอง ที่เป็นปัญหาเอง เป็นอารมณ์ของเราเอง เป็นความหงุดหงิดเป็นความอะไรบางอย่างของเราเอง หรือเราไปเจอเรื่องส่วนตัวอะไรบางอย่างของเราเอง เพราะฉะนั้นที่อยากจะให้กลับไปหาให้เจอเพราะว่าถ้าเกิดว่าเราหาไม่เจอครับว่าต้นเหตุของการที่ทำให้รู้สึกไม่อยากทำงานขึ้นมามันเกิดจากอะไร เราจะแก้ปัญหาผิดวิธีทันที”

นอกจากนี้ยังมีคำถามจากทางไลฟ์ที่ส่งเข้ามาถามกันอย่างมากมาย ซึ่งคุณบีได้ตอบคำถามเอาไว้ด้วยข้อคิดของผู้บริหารที่มีทั้งความสนุกสนานและเนื้อหาสาระอย่างมากมาย สำหรับใครที่ต้องการรับชมเพิ่มเติม สามารถเข้าไปชมได้จากลิ้งค์นี้ https://www.facebook.com/COTTOLIFE/videos/498080991914881ได้เลย

COTTO LiFE SiGNATURE TALK ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

COTTO LiFE SiGNATURE TALK "ต้องเก่งแค่ไหน ? ถึงจะรอดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง"